อื่นๆ-โชว์
-
สมเด็จองค์ปฐม (อาจารย์โอ๋ ลูกศิษย์ ลพ.ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จัดสร้าง)
เป็นพิมพ์พระสมเด็จองค์ปฐม ใต้ฐานอุดกริ่ง นะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสมเด็จองค์ปฐม รุ่น1 ของวัดท่าซุง ถ้าใครไม่แม่นพิมพ์อาจจะเข้าใจเป็น รุ่น1 ของวัดท่าซุงได้
พระสมเด็จองค์ปฐมรุ่นนี้ อาจารย์บุปผาชาติ พงษ์ประดิษฐ์ (อ.โอ๋) เป็นผู้จัดสร้าง ถ้าเปรียบเทียบกับสมเด็จองค์ปฐม รุ่น1 นอกจากพิมพ์พระที่ดูต่างกันเล็กน้อยแล้ว ฝากริ่งใต้ฐานที่เป็นจุดดูที่สำคัญของรุ่น1 ก็ดูต่างกันชัดเจน ลองสังเกตดูกันนะครับ
ปล. พอดีไปเห็นของเพื่อนกันเอามาให้ดู เลยขออนุญาติถ่ายรูปเอามาให้ศึกษากัน แต่เสียดายไม่ได้เอากล้องติดตัวไป เลยใช้มือถือถ่ายได้แค่นี้
-
สมเด็จองค์ปฐม หลวงพี่สมปอง (หล่อผสมด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
สมเด็จองค์ปฐม หลวงพี่สมปอง หล่อผสมด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง จัดสร้างเมื่อปี2546 เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ 11ปี การมรณะภาพของหลวงพ่อ โดยใช้บล็อคแม่พิมพ์เดิมที่สร้างสมเด็จองค์ปฐม รุ่น1และรุ่น2 ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีการแต่งพิมพ์เล็กน้อย
*** สำหรับพระสมเด็จองค์ปฐม รุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับสมเด็จองค์ปฐม รุ่น2มาก เพราะใช้บล็อคเดียวกัน ทำให้บางท่านนำไปเจาะรูใหม่เพื่อหลอกให้บูชาเป็นรุ่น2 ต้องพิจารณาให้ดี ทั้งรูที่เจาะที่เป็นเอกลักษณ์ รอยตะไบที่แต่งใต้ฐาน และองค์ประกอบอื่นๆด้วย จะได้ไม่โดนหลอก
-
๖. สมบัติพ่อให้ (นอกวัด) อื่นๆ อื่นๆ-โชว์
สมเด็จองค์ปฐม เนื้อเงิน หลวงพี่สมปอง (หล่อผสมด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
สมเด็จองค์ปฐม เนื้อเงิน ของหลวงพี่สมปอง หล่อผสมด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง จัดสร้างเมื่อปี2546 เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ 11ปี การมรณะภาพของหลวงพ่อ โดยใช้บล็อคแม่พิมพ์เดิมที่สร้างสมเด็จองค์ปฐม รุ่น1และรุ่น2 ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีการแต่งพิมพ์เล็กน้อย
*** สำหรับพระสมเด็จองค์ปฐม รุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับสมเด็จองค์ปฐม รุ่น2เนื้อเงินของพระเดชพระคุณหลวงพ่อมาก เพราะใช้บล็อคเดียวกันที่นำไปตกแต่งพิมพ์อีกเล็กน้อย ทำให้บางท่านอาจจะสับสนกันได้ ต้องพิจารณาให้ดี ผิวพระรุ่นนี้จะเนียนกว่า (ผิวเนื้อไม่พรุนทราย) และที่ใต้ฐานจะเรียบไม่มีการตะไบลบเหลี่ยมลบมุม ต้องจำลักษณะกันไว้ในจุดที่แตกต่าง
-
เหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร พิมพ์เล็ก (กรรมการ) ชุดทองคำ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมปลุกเสก)
เหรียญพระชัยหลังช้าง เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่ง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530
เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ ที่เรียกกันว่า “พระชัยหลังช้าง” ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร.” มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า “5 ธันวาคม 2530” และ “คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ” มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อนาค และเนื้อกะไหล่ทอง
ชุดนี้เป็นเหรียญพิมพ์เล็ก จัดสร้างสำหรับแจกกรรมการ และพระเถระชั้นผู้ใหญ่
” เหรียญพระชัยหลังช้าง” เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532
และ” เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์
“พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป อาทิเช่น”…
1.สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
3.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
4.สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวิหาร
5.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
6.พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ
7.พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
8.พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน
9.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง
11.พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม
12.พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
13.พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
14.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15.พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม
16.หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า “เหรียญพระชัยหลังช้าง หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว” และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)” ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน
ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมาก เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยม และได้เล่าประวัติพระชัยหลังช้างไว้ว่า เป็นพระที่ ร.๑ ท่านบูชาประจำพระองค์ มาตั้งแต่สมัยชื่อด้วงแล้ว ต่อมาก็เป็นแม่ทัพ เวลาจะรบกับข้าศึกก็เอาไปด้วย บูชาประจำพระองค์เลย ออกรบแต่ละครั้ง ร.๑ ท่านไม่เคยแพ้ใคร ฉนั้นเวลาจะบูชา หลวงพ่อท่านให้อธิฐานว่า “ร.๑ ไม่เคยแพ้ใครฉันใด ขอเราเป็นผู้ชนะแบบ ร.๑” อธิฐานอย่างนี้ยิ่งดีใหญ่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อย่าให้แพ้ความยากจน” เราจะได้รวยๆๆ
-
เหรียญรุ่น1 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สมเด็จฟื้น) วัดสามพระยา (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ร่วมพิธีพุทธาภิเษก)
เหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สมเด็จฟื้น) วัดสามพระยา
พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะให้ความเคารพต่อสมเด็จฟื้นเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ทางวัดมีงานสำคัญๆหรืองานประจำปี หลวงพ่อจะนิมนต์ท่านมาร่วมงานด้วยเสมอๆ
สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ปรารภถึงสมเด็จฟื้นท่าน ไว้ว่า “ฉันอยู่ได้เพราะหลวงพ่อ วัดสามพระยา และสร้างวัดท่าซุงให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เพราะอาศัยบุญคุณหลวงพ่อวัดสามพระยา คือเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์องค์ปัจจุบัน ฉะนั้นการทำบุญทำกุศลทุกอย่าง ฉันจะทุ่มเทไปหาวัดสามพระยาหนัก จิตใจฉันทุ่มเทอยู่ที่นั่นมาก ท่านก็มีความเมตตามากถึงแม้จะทำอะไรก็ตามที จะเท่ากับความดีที่ท่านให้ คือ ให้ชีวิตไว้นี้ไม่มีอีกแล้ว บุญคุณครั้งนี้ชำระเท่าไรก็ไม่หมด”
เหรียญสมเด็จฟื้นที่หลวงพ่อได้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ
1) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่นแรก
จัดสร้างขึ้นเมื่อปี2518 ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหน้าตรง ส่วนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเนื้อโลหะชุบกะไหล่เงิน2) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2
เป็นเหรียญที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธาภิเษก ทำบุญกับสมเด็จฟื้นท่าน ด้านหน้าจัดสร้างเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหันข้าง ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมทรงช้างประกายแก้ว มีข้อความ “ไพรีพินาศ” อยู่ด้านล่าง หลวงพ่อพุทธาภิเษก เมื่อปี25223) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น3
สร้างโดยใช้บล็อคแบบด้านหน้า เช่นเดียวกับเหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2 แต่เปลี่ยนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเหรียญโลหะชุบทอง -
เหรียญรุ่น2 ไพรีพินาศ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมพิธีพุทธาภิเษก)
เหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สมเด็จฟื้น) วัดสามพระยา
พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะให้ความเคารพต่อสมเด็จฟื้นเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ทางวัดมีงานสำคัญๆหรืองานประจำปี หลวงพ่อจะนิมนต์ท่านมาร่วมงานด้วยเสมอๆ
สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ปรารภถึงสมเด็จฟื้นท่าน ไว้ว่า “ฉันอยู่ได้เพราะหลวงพ่อ วัดสามพระยา และสร้างวัดท่าซุงให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เพราะอาศัยบุญคุณหลวงพ่อวัดสามพระยา คือเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์องค์ปัจจุบัน ฉะนั้นการทำบุญทำกุศลทุกอย่าง ฉันจะทุ่มเทไปหาวัดสามพระยาหนัก จิตใจฉันทุ่มเทอยู่ที่นั่นมาก ท่านก็มีความเมตตามากถึงแม้จะทำอะไรก็ตามที จะเท่ากับความดีที่ท่านให้ คือ ให้ชีวิตไว้นี้ไม่มีอีกแล้ว บุญคุณครั้งนี้ชำระเท่าไรก็ไม่หมด”
เหรียญสมเด็จฟื้นที่หลวงพ่อได้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ
1) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่นแรก
จัดสร้างขึ้นเมื่อปี2518 ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหน้าตรง ส่วนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเนื้อโลหะชุบกะไหล่เงิน2) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2
เป็นเหรียญที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธาภิเษก ทำบุญกับสมเด็จฟื้นท่าน ด้านหน้าจัดสร้างเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหันข้าง ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมทรงช้างประกายแก้ว มีข้อความ “ไพรีพินาศ” อยู่ด้านล่าง หลวงพ่อพุทธาภิเษก เมื่อปี25223) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น3
สร้างโดยใช้บล็อคแบบด้านหน้า เช่นเดียวกับเหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2 แต่เปลี่ยนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเหรียญโลหะชุบทอง -
เหรียญรุ่น2 ไพรีพินาศ สมเด็จฟื้น วัดสามพระยา เนื้อเงิน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมพิธีพุทธาภิเษก)
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธาภิเษก ทำบุญกับสมเด็จฟื้นท่าน ด้านหน้าจัดสร้างเป็นรูปหันข้างครึ่งองค์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมทรงช้างประกายแก้ว มีข้อความ “ไพรีพินาศ” อยู่ด้านล่าง หลวงพ่อพุทธาภิเษก เมื่อปี2522
เหรียญนี้เป็นเหรียญเนื้อเงิน จัดสร้างจำนวนน้อย หายากมากๆ (ปกติทั่วๆไปจะเป็นเหรียญชุบกระไหล่ทอง)
พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะให้ความเคารพต่อสมเด็จฟื้นเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ทางวัดมีงานสำคัญๆหรืองานประจำปี หลวงพ่อมักจะนิมนต์มาร่วมงานด้วยเสมอๆ
เหรียญสมเด็จฟื้นที่หลวงพ่อได้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ
1) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่นแรก
จัดสร้างขึ้นเมื่อปี2518 ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหน้าตรง ส่วนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเนื้อโลหะชุบกะไหล่เงิน2) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2
เป็นเหรียญที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธาภิเษก ทำบุญกับสมเด็จฟื้นท่าน ด้านหน้าจัดสร้างเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหันข้าง ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมทรงช้างประกายแก้ว มีข้อความ “ไพรีพินาศ” อยู่ด้านล่าง หลวงพ่อพุทธาภิเษก เมื่อปี25223) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น3
สร้างโดยใช้บล็อคแบบด้านหน้า เช่นเดียวกับเหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2 แต่เปลี่ยนด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร สร้างเป็นเหรียญโลหะชุบทอง -
เหรียญหลวงพ่อยิ้ม วัดธรรมยาน เนื้อทองคำ (หลวงพ่อวิรัช โอภาโส อดีตพระเลขาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
เหรียญหลวงพ่อยิ้ม หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เหรียญพระสมเด็จพุทธธรรมยาน” มีลูกศิษย์หลวงพ่อวิรัชท่านนึงสร้างมาถวายเพื่อหาเงินเข้าวัด โดยด้านหน้าสร้างเป็นรูปหลวงพ่อยิ้ม ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ทำน้ำมนต์ของพระสารีบุตร และมีบทที่พระสวดให้พรที่เรียกว่า “มงคลจักรวาลน้อย” คือ อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก สุขะวัฑฒะโก ทั้งหมดคือ “ความเจริญทั้งเจ็ดประการ” รวมกันคือ น้ำมนต์ 7วัฒท์ ตามที่คนโบราณแนะนำคนที่ดวงตกให้ไปรดน้ำมนต์ 7วัด เพื่อสะเดาะห์ต่อชะตาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ก็คือ น้ำมนต์ 7วัฒท์แบบนี้
เหรียญรุ่นนี้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ตึกรับแขก วัดท่าซุง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 พร้อม “เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง นั่งโซฟารับแขก” มีอยู่ด้วยกัน 5แบบ คือ
1) เนื้อทองคำ (สร้าง3เหรียญ)
2) เนื้อเงิน
3) เนื้อชุบทองเหล็กไหลสีดำ
4) เนื้อชุบทองหนาพิเศษ
5) เนื้อชุบทองธรรมดา (แจกคนทำบุญสังฆทาน)แบบที่1เหรียญทองคำ จะมีโค๊ตตอก2ข้างซ้ายขวาและที่หูเหรียญ ส่วนแบบที่ 2-4 สร้างประมาณ 500ชุด มีโค๊ต2ข้างซ้ายขวา ถ้าเป็นเนื้อชุบทองธรรมดามีโค๊ตตอกตัวเดียว
นำมาให้บูชาและแจกผู้ทำบุญถวายสังฆทานในงานกฐิน ปี54 เหรียญนี้เป็น 1ใน3เหรียญที่มีการจัดสร้างเนื้อทองคำ ทางวัดตั้งราคาให้ร่วมบุญเหรียญละ 20,000บาท
****************************************************************************************************
ประวัติหลวงพ่อพระปลัดวิรัช โอภาโส
พระปลัดวิรัช โอภาโส อดีตพระวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี หลังจากที่ท่านเคยใช้ชีวิตในโลกแห่งสมมุติ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามานานกว่า 10 ปี ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย และเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อหาทางเข้าสู่วิมุตติ ณ วัดท่าซุง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2524 และจนกระทั่งวันที่ 30 ตุลาคม 2535 เป็นวันที่บรรดาลูกหลานศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เศร้าโศกเสียใจกับการมรณภาพของท่านอย่างไม่มีวันกลับ พระปลัดวิรัชได้อยู่สนองพระคุณท่าน ด้วยการร่วมในพิธีงานมรภาพจนครบรอบ 1 ปี ในที่สุดท่านตัดสินใจออกจากวัด เพื่ออยู่ใกล้ชิดบิดามารดา และเพื่อฝึกฝนตนเอง และแสวงหาเส้นทางวิมุตติ ด้วยการรอนแรมไปยังที่ต่างๆนานกว่า 10 ปี
ภายใต้ร่มโพธิ์ทอง ร่มโพธิ์ธรรม ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ยาวนาน 12 ปี ท่านได้เป็นพระเลขาฯ ประจำตัวของหลวงพ่อฯ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กรรมการมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร และกรรมการโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา ท่านเป็นผู้ติดตามรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อฯทั้งภายในประเทศและต่างประเทศด้วยดี ตลอดมา ซึ่งทุกตำแหน่งได้สร้างความภูมิใจให้ท่านเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมีค่าเท่ากับความเมตตาที่หลวงพ่อฯมอบให้ ในที่สุดท่านได้นำประสบการณ์ที่สะสมมานานมาสร้าง วัดธรรมยานขึ้น ที่ ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านมีปฏิปทาในการทำงานเพื่อบูชาพระคุณองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
เมื่อเวลามาถึง และโอกาสอำนวย วัดธรรมยานจึงได้ถือกำหนดขึ้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2546 จากที่ดิน 37 ไร่ จนกระทั่งปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 664 ไร่ จากพื้นที่แห้งแล้งประดุจดั่งทะเลทราย ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีน้ำใช้ในบางโอกาส ณ บัดนี้ผืนดินดังกล่าวได้ค่อยๆกลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เจริญงอกงามขึ้น ตามลำดับของกาลเวลาและกำลังศรัทธาของผู้แสวงบุญ อันเป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้นใฝ่หาความสงบของจิตเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาหาทางดับทุกข์ในที่สุด