ตะกรุด

  • ตะกรุด ตะกรุด-โชว์

    ตะกรุดหนังควายพอกครั่ง ครูบาชุ่ม วัดวังมุย (เชือกเหลือง รุ่นแจกศิษย์วัดท่าซุง ปี2518)

    ครูบาชุ่ม  หลังจากที่ได้ศึกษา  วิชาการทำตะกรุดหนังฯ มาแล้ว  ท่านยังไม่ได้ทำตะกรุด เพราะว่ายังไม่พบหนังลูกควายตายพรายตามตำรา   จนมาเมื่อปี 248 กว่า  และปี 2510 ,  2518 ,  2519   ท่านจึงได้สร้างตะกรุดหนังฯขึ้นมา เพราะได้หนังลูกควายตายพรายตามตำรามา (ได้หนังฯมา 4 ครั้ง แต่ละครั้ง ได้หนังมาประมาณ ฟุตกว่า ๆ เพราะเป็นหนังลูกควายที่ตายขณะอยู่ในท้อง ตัวจะไม่โต และในปี 2519 ได้หนังลูกควายตายพรายมีลักษณะ 8ขา 4เขาและเป็นควายเผือกมา) รวมทำทั้งหมดไม่เกิน 400 ดอก

    ตะกรุดที่ท่านสร้าง จะมีอยู่ 2ลักษณะ คือ แบบปิดทอง (สร้างในยุคต้น ร้อยเชือกสีแดง) และ แบบทาทอง (ทำในยุค 2518 – 2519 เพราะมีสีทองจากการบูรณะวิหารอยู่)

    วิธีการสร้างตะกรุด ก็คือ.
    เมื่อได้หนังลูกควายตามตำราแล้ว ต้องมีการพลีเพื่อขอศพลูกควายจากศพแม่ก่อน (ตำราต้นฉบับกล่าวไว้) แล้วนำหนังมาฟอกล้างให้สะอาดแล้วนำมาผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำหนังมาวัดกะจำนวนปริมาณของดอกตะกรุด ว่าจะได้สักกี่ดอก แล้วตัดหนัง เมื่อตัดแล้วก็ลงอักขระที่หนังแต่ละดอกว่า…

    “ พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด ฆะขาขาขาขา ฆะพะสะจะ กะพะวะกะหะ”

    พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด (คาถามหาอุด หยุดปืน ปืนแตก)

    ฆะขาขาขาขา (ข่าม เหนียว กันงูเงี้ยว เขี้ยวขอ กันเขา กันปืน กันมีด)

    ฆะพะสะจะ (หัวใจข่าม คงกระพัน สารพัดกัน)

    กะพะวะกะหะ (แคล้วคลาด ปลอดภัย กันสิ่งไม่ดี)

    จากนั้นนำทองแดงมาเป็นแกนกลางเพื่อจะได้พันหนังได้ง่ายไม่เสียรูปทรง เสร็จแล้วนำ เชือกมาพันให้แน่นกับทองแดง แล้วนำครั่งมาพอกไว้ เพื่อทำเป็นรูปทรงเดียวกัน (แบบลูกหนำเลี๊ยบ) แล้วนำเชือกสีแดงหรือเหลืองมาร้อยไว้ เป็นอันเสร็จ ถือเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังอันดับต้นๆของล้านนา เด่นด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี

    ในปี2518 ครูบาชุ่ม ท่านได้นำตะกรุดมาร่วมบุญถวายให้กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ เนื่องในวาระ ครบรอบ๑๐๐ปีเกิดหลวงปู่ปาน ในวงการจึงเรียกกันว่า “รุ่นแจกศิษย์วัดท่าซุง ปี2518”

    Read more
  • ตะกรุด ตะกรุด-โชว์

    ตะกรุดเดินป่า (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

    ตะกรุดหลวงพ่อปาน หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า “ตะกรุดเดินป่า” พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเมตตาทำแจกลูกหลานครั้นเมื่อท่านมาอยู่ที่วัดท่าซุงแล้ว เป็นตะกรุดทองแดง ใช้สำหรับคล้องคอหรือคาดเอว

    พุทธคุณด่น เมื่อเวลาเดินป่าจะไม่หลงทาง และป้องกันภยันตรายต่างๆ แคล้วคลาดปลอดภัย

    Read more
  • ตะกรุด ตะกรุด-โชว์

    ตะกรุดใต้น้ำ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

    ตะกรุดใต้น้ำ

    เมื่อราวๆปี 2514-2518 ในช่วงนั้นโบสถ์ใหม่ยังไม่ได้สร้าง ต้องใช้แพโบสถ์น้ำในการทำสังฆกรรม ตำแหน่งของแพโบสถ์น้ำก็ประมาณแพปลาในแม่น้ำสะแกกรังหน้าวัดในปัจจุบัน มีอยู่วันหนึ่งหลวงพ่อเดินถือแผ่นทองแดงปึกหนึ่ง ประมาณ 10แผ่น เดินไปแพโบสถ์น้ำ แล้วหลวงพ่อท่านก็เดินลงไปในน้ำ ขณะที่ท่านเดินลงไปก็เหมือนมีขั้นบันไดรับเท้าหลวงพ่อลงไปทีละขั้นจนมิดศรีษะหายไป ศิษย์ใกล้ชิดที่ติดตามมาด้วยก็ยืนรออยู่ที่ริมฝั่ง แต่พอเวลาผ่านไปเกินกว่าครึ่งชั่วโมง หลวงพ่อยังไม่ขึ้นมา ศิษย์ท่านนี้ก็เตรียมจะถอดเสื้อตามลงไป ก็พอดีกับหลวงพ่อเดินขึ้นมา การเดินก็เหมือนกับการเดินขึ้นบันไดมาทีละขั้น เมื่อขึ้นมาจีวรหลวงพ่อไม่เปียกน้ำ ส่วนตะกรุดม้วนเสร็จสรรพเรียบร้อย หลวงพ่อก็เดินถือกำขึ้นมาแล้วกลับกุฏิ ตะกรุดชุดนี้หลวงพ่อท่านทำแจกญาติโยมที่อุปัฏฐากวัดในขณะนั้น ถือเป็นสุดยอดตะกรุดในตำนานที่หลวงพ่อสร้างไว้

    ปล. ตะกรุดดอกนี้เจ้าของเดิมเป็นโยมอุปัฏฐากที่คอยปฎิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อ ถือเป็นวาสนาของผมจริงๆที่มีโอกาสได้ครอบครองหนึ่งในตำนานตะกรุดใต้น้ำที่หลวงพ่อสร้างไว้

    Read more
  • ตะกรุด ตะกรุด-โชว์

    แผ่นดวงมหายันต์เกราะเพชร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

    เป็นแผ่นยันต์สะเดาะเคราะห์ สร้างด้วยทองเหลือง เมื่อปี พ.ศ.2527 เป็นรูปปัญจวัคคีย์ทั้ง 5องค์ นั่งสดับธรรมต่อหน้าองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ลูกศิษย์หลายๆท่านจะเขียนชื่อ วันเดือนปีเกิด แล้วนำไปไว้ใต้ฐานพระประธานที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลและหนุนดวงให้ดี

    Read more
  • ตะกรุด ตะกรุด-โชว์

    แผ่นยันต์ตะกรุดจารมือ เนื้อเงิน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

    หลังจากหลวงพ่อท่านมรณภาพ พระลูกวัดก็เข้าไปทำความสะอาดในห้องนอนของหลวงพ่อ และได้เจอตะกรุดชุดนี้ ทางวัดนำออกมาแบ่งให้บูชากัน ส่วนใหญ่คนที่ได้บูชาจะเป็นพระลูกวัดและคนที่ช่วยเหลืองานวัด ไม่ทันที่คนนอกจะได้บูชาเพราะแผ่นตะกรุดชุดนี้จะมีแค่ 50กว่าแผ่น

    และจากการสือค้นข้อมูลกันภายในวัด ตะกรุดชุดนี้น่าจะสร้างราวๆปี 2517-2518

    Read more
  • ๔. เครื่องราง ตะกรุด ตะกรุด-โชว์ พระยอดนิยม

    แผ่นยันต์ตะกรุดเมฯ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

    ถือเป็นสุดยอดตะกรุดของหลวงพ่อ ซึ่งช่วงราวๆปี2527-2528 ในวัดจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีทำไสยศาสตร์คุณไสยดำเพื่อหวังจะทำร้ายทั้งพระและฆราวาสในวัด พระท่านมาบอกกับหลวงพ่อ ให้หลวงพ่อทำตะกรุดเพื่อป้องกันคนในวัดโดนคุณไสย หลวงพ่อท่านเลยเมตตาทำให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะเป็นการภายใน ไม่มีการบอกกล่าวไปถึงคนข้างนอก จะรู้กันเฉพาะพระและฆราวาสที่นอนที่วัดหรือช่วยงานที่วัดในขณะนั้นเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้นมีพระและฆราวาสในวัดยังไม่มากนัก วัดยังไม่ใหญ่โตเท่าปัจจุบันนี้ โดยบรรดาลูกหลานจะลงชื่อกันไว้ แล้วนำแผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นนาก หรือแผ่นโลหะอะไรก็สุดแต่จะนำมา แล้วก็นำใส่พานไปให้หลวงพ่อปลุกเสก ตอนแรกหลวงพ่อก็ลงมือจารด้วยตัวท่านเอง สักพักหมาหอนลั่นกันทั้งวัด หลวงพ่อก็หยุดจาร เมื่อปลุกเสกเสร็จ หลวงพ่อก็บอกว่า พระท่านมาบอกว่าไม่ต้องจารทั้งหมดหรอก จะไม่ไหว ให้กำหนดจิตทำ ท่านเลยกำหนดจิตตามพระท่านสั่ง ปรากฎว่าตะกรุดทุกดอกในพานนี้ ขึ้นเป็นตัวอักขระตามเนื้อตะกรุดครบทุกดอก ตะกรุดจะมีจำนวนไม่มาก แจกกันไปคนละดอกสองดอกเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น ไม่ได้ทำเยอะ

    หลวงพ่อท่านทำขึ้นโดยเข้าผลสมาบัติเต็มกำลัง และใช้คาถา “เมสัมมุขา สัพพาหะระติ เตสัมมุขา” ซึ่งเป็นพระคาถาป้องกันคุณไสย กันยาพิษยาสั่ง ใครทำคุณไสยมา..จะย้อนกลับไปเข้าตัวผู้ทำ

    การที่เราเรียกตะกรุดชนิดนี้ว่า “ตะกรุดเมฯ” เพราะหลวงพ่อท่านทำท่านเสกให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะช่วงปี27-28 ด้วยคาถา “เมสัมมุขา สัพพาหะระติ เตสัมมุขา”

    แผ่นตะกรุดจะมีขนาดประมาณ 2.5×2.5นิ้ว เป็นแบบจารมือทั้งสองด้าน โดยด้านหนึ่งจารยันต์องค์พระ (หรือที่เรียกกันว่า ยันต์ปัญจพุทธา) และอีกด้านจารยันต์ท้าวมหาชมภู [สังเกตุที่ตัวยันต์ ถ้าเขียนกดที่ด้านไหน ด้านนั้นจะเป็นรอยบุ๋มลงไป ส่วนอีกด้านจะเป็นรอยนูน] ซึ่งตะกรุดดอกนึงอาจจะมีจารยันต์แค่หน้าเดียว บางแผ่นอาจจะมีจารยันต์ครบทั้งสองด้านไม่แน่ไม่นอน และปกติจะเห็นเป็นแบบม้วนเป็นตะกรุดเสร็จสรรพ แต่3ดอกนี้ท่านเก็บไว้เดิมๆไม่ได้ม้วน ทำให้เห็นยันต์ที่จารได้ชัดเจน การันตีความแท้ เป็นตะกรุดดอกครูไว้ศึกษาได้เลย

    ข้อห้ามในการใช้ตะกรุดเมฯ :
    1) ห้ามนำตะกรุดเข้าห้องคนคลอดบุตร (เนื่องจากจะทำให้หญิงมีครรภ์ผู้นั้นคลอดไม่ได้)
    2) ห้ามทำแจกเด็ก ด้วยจะเป็นอันตรายกับเด็ก (เนื่องจาก ถ้าเด็กคนไหนคล้อง แล้วเราไปดุด่าหรือตีเพราะเด็กคนนั้นดื้อ แต่ผลจะสนองกลับกับผู้ตี ถึงแม้นคนตีจะเป็นพ่อเป็นแม่ก็ตาม)

    เพิ่มเติม: เรื่องเล่าจากศิษย์รุ่นเก่า บางคนที่มาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อในภายหลังหรือเป็นตั้งแต่เริ่ม ที่ไม่ได้ตะกรุดเมฯในสมัยที่หลวงพ่อท่านทำให้เมื่อปี27-28 ก็นึกอยากจะได้กัน ก็มีมาขอหลวงพ่อนำตะกรุดที่จารกันเองไว้แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกของวัดพร้อมกับวัตถุมงคลรุ่นอื่นๆที่ทางวัดจัดสร้าง ท่านก็อนุญาต ท่านเสกให้ บางดอกจารระบุปี253xที่ตัวดอกตะกรุดเลยก็มี แล้วมีคนถามๆกันว่า..ตะกรุดชุดนั้นจะเรียกตะกรุดเมฯไหม? ศิษย์รุ่นเก่าบอกว่า..ใครจะเรียกตะกรุดอะไรก็สุดแล้วแต่ แต่ตะกรุดเมฯจริงๆที่หายากๆทำเมื่อปี27-28เป็นการเฉพาะกิจเท่านั้น แต่ตะกรุดอื่นๆที่นำเข้าพิธีก็ถือว่าสุดยอดแล้ว เพราะหลวงพ่อได้เสกแล้ว พุทธคุณเปี่ยมล้นไม่ต่างอะไรกับพระที่หลวงพ่อท่านเสก

    Read more