พระคำข้าวรุ่นพิเศษ พิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
สำหรับพระคำข้าวรุ่นพิเศษ พิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อนั้น เข้าพิธีพุทธาภิเษกในวันเป่ายันต์เกราะเพชร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2535
โดยพระคำข้าวพิมพ์พิเศษนั้น ทางวัดสร้างออกมายู่ด้วยกัน3แบบ คือ
แบบที่1 ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จองค์ปฐม ติดพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุด้านหน้า5องค์ ด้านหลังเป็นรูปยันต์เกราะเพชรและอุดผงคำข้าว จะมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ ยันต์เกราะเพชรที่ปั๊มแบบจมลงไป(พิมพ์ยันต์จม) และยันต์เกราะเพชรเป็นแบบนูนขึ้นมา (พิมพ์ยันต์นูน)
แบบที่2 ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อ ติดพระธาตุข้าวบิณฑ์1องค์ ด้านหลังเป็นรูปยันต์เกราะเพชรและอุดผงคำข้าว
แบบที่3 ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นรูปยันต์เกราะเพชรและอุดผงคำข้าว (ไม่ติดพระธาตุข้าวบิณฑ์)
ลูกศิษย์หลวงพ่อจะเชื่อกันวันวัตถุมงคลต่างๆของหลวงพ่อ จะมีเทวดาประจำองค์พระคอยปกปักรักษาผู้ที่บูชาอยู่ทุกองค์
วิธีการอาราธนาพระคำข้าว
คำอาราธนา ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด รวมทั้ง เทวดาและพรหม ครูบาอาจารย์ทั้งหมด มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ตลอดจนพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด แล้วตั้งนะโม 3จบ ปฎิบัติตามปกติว่า อิติปิโส 1จบ หลังจากนั้นให้อธิษฐานเอาตามความประสงค์ เมื่ออธิษฐานแล้ว ปลุกด้วยคาถาปลุกพระของหลวงพ่อปานว่า
“ อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่ง แก่มะอะอุนี้เถิด”
สำหรับพระคำข้าวทำได้ยากมาก เพราะต้องเสกข้าวที่มีรสอร่อยที่สุดนำมาเสก ทำอย่างนี้ครบ 3เดือนแล้วจึงทำเป็นผง แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกวาระหนึ่ง
ผงคำข้าวที่อุดด้านหลังจะมีอยู่หลายโทนสี ขึ้นอยู่กับการผสมมวลสารในแต่ละครั้งที่แตกต่างกัน มีทั้งผงที่เป็น สีเหลือง , สีเทา และสีขาว ซึ่งผงอุดนี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในการพิจารณาพระคำข้าวรุ่นพิเศษนี้
****************************************
องค์ในรูปนี้เป็นพิมพ์แบบที่3 ด้านหน้าหลวงพ่อนั่งอยู่บนโต๊ะฐานสิงห์ ด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชรอุดผงคำข้าว มีทั้งแบบปิดทองและไม่ปิดทอง